Chinpracha Historical Marker of Phuket :คฤหาสถ์เก่ากลางเมืองภูเก็ต "บ้านชินประชา"

ซอยเล็กๆที่หากไม่มีใครสังเกตคงไม่มีทางรู้เลยว่าคฤหาสถ์เก่าอายุ เกินกว่า110ปี  ตั้งตระหง่านอย่างสวยงามพร้อมด้วยเรื่องราวประวัติศาสตร์อันเก่าแก่ยาวนานที่นี่...บ้านชินประชา






เล่าคร่าวๆถึงประวัติบ้านหลังนี้ ที่คัดลอกมาจากใบปลิวแจกแผ่นเล็กๆ  เมื่อเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์
บ้านชินประชาสร้างขึ้นปลายสมัยรัชกาลที่ 5  โดยพระพิทักษ์ชินประชาเจ้าของคนแรก



บ้านหลังนี้เป็นลักษณะ ชิโน-โปรตุกีสหลังแรกบนเกาะภูเก็ต เฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่เป็นของตกทอดมาจากเมืองจีนไม่ก็นำเข้าจากต่างประเทศ(แถบยุโรปนะค้า) 
ตอนท่านสร้างบ้านหลังนี้ อายุแค่20 ปีเอง ถือว่า..... อายุน้อยกว่าเราเกิน 10 ปี แต่ความคิดความอ่านคนสมัยก่อนเป็นผู้ใหญ่สูงเนอะ ถ้าเป็นสมัยนี้ยังเป็นเด็กโจ๋ยังขี่มอ'ไซด์แว๊นกันอยู่เลย

สงสัยมั้ย...ทำไมอายุน้อยถึงสามารถสร้างบ้านที่กลายมาเป็นประวัติศาสตร์ได้? ก็บิดาของท่านถือกำเนิดขึ้นในประเทศจีน และรับราชการในตำแหน่ง "บูเต๊กจงกุน" (คือตำแหน่งอะไรหว่า ใครรู้ช่วยมาตอบหน่อย)

ต่อมาบิดาท่านเดินทางมายังประเทศไทยประกอบกิจการเหมืองแร่ดีบุกที่ภูเก็ตและกิจการค้าขายที่เกาะปีนัง ฮั่นแน่... ลูกคนรวยไง สร้างได้สิ แต่คนรวยที่นี้คือมีความสามารถและสืบทอดกิจการด้วยนะค้า 

ปัจจุบันคฤหาสถ์หลังนี้สืบทอดมาถึงรุ่นที่6 แล้วและเรื่องราวเหล่านี้มาจากคุณประชา ตัณฑวณิชทายาทผู้เปิดให้บ้านหลังนี้เป็นพิพิธภัณฑ์และให้ผู้คนเข้าชมนั่นเอง ไม่ต้องไปถามหาท่านนะคะ ถึงแก่กรรมไปแล้ว เมื่อปี 2549

เดินทางมาถึงบ้านชินประชาช่วงบ่ายกว่าๆ มีคุณป้าคนดูแลพิพิธภัณฑ์เดินมาต้อนรับ เก็บค่าเข้าชมคนละ100บาท ( ปกติต่างชาติ 150 บาท ) ป้าเชิญให้เราสำรวจตามสบายถ่ายรูปได้ทุกที่ แต่ห้ามขึ้นชั้นบน เพราะปัจจุบันยังมีคนอาศัยอยู่ คนอาศัยก็คือลูกหลาน ที่ยังอยู่ดูแลรักษาให้บ้านหลังนี้มีสภาพที่ดีจนไม่น่าเชื่อ 


เมื่อเดินย่างกรายเข้าสู่ตัวบ้าน มือกดชัตเตอร์เริ่มตั้งกล้องเซลฟี่ที่สระกลางบ้านก่อน แล้วค่อยย้ายมุม


บ้านนี้สวยมาก โดยเฉพาะใครที่ชอบของเก่า และประวัติศาสตร์รับรองฟินกว่านี้หลายเท่า มีอะไรให้น่าสำรวจเยอะ  บ้านมีลักษณะที่ดี มีสระน้ำและช่องแสงกลางบ้าน เลี้ยงปลาคราฟท์หลายตัว บรรยากาศสงบและเย็นสบาย แม้จะมีแสงแดดส่องลงกลางบ่อปลา แต่บ้านมีลักษณะโปร่งทำให้ระบายอากาศได้ดี


จากเก้าอี้รับแขกแบบจีนที่นึกไปถึงเมืองจีนโบราณ ไปจนถึงโต๊ะทานอาหารไม้เก่าแก่ ดูแล้วสะดุดตา มาที่เตียงนอนเหมือนหลุดออกมาจากฉากหลัง หรือจะเปียโนที่ต้องสั่งมาจากเมืองนอกในสมัยนั้น สามารถบอกได้ชัดเจนถึงฐานะของเจ้าบ้าน 555













ห้องแสดงประวัติวงศ์ตระกูลชินประชา 




และนี่หลวงบำรุงจีนประเทศเป็นบิดาของพระพิทักษ์ชินประชา
ต้นตระกูล บิดาของผู้สร้างคฤหาสถ์หลังนี้


 สำรวจมาถึงห้องจัดแสดงเครื่องประดับสุภาพสตรี และการแต่งกาย



ห้องนอน เตียงเด็ก (บางทีไปเจออุปกรณ์สมัยใหม่ หลบมุมกล้องแทบไม่ทัน )



ถัดไป คือครัวแบบโบราณที่ตั้งโชว์สารพัดอุปกรณ์ของแม่ศรีเรือนไว้ทุกประเภท ตั้งแต่กระต่ายขูดมะพร้าวไปยังหินโม่แป้ง มีบ่อน้ำตั้งกลางลานบ้าน สมัยก่อนที่ยังไม่มีน้ำประปา จะขุดบ่อน้ำบาดาลไว้ใช้ในครัวเรือน






มีห้องน้ำด้วย ตั้งใจจะถ่ายส้วมแบบคอห่านมาให้ดู เปิดเข้าไป อ้าว... ชักโครก 5555 ไม่ใช่สินะ ส่วนนี้คงมีการบูรณะบ้านให้เข้ากับยุคสมัยไปแล้ว 

เมื่อออกจากห้องครัว เราจบการสำรวจในบ้าน เนื่องจากชั้น 2 เป็นที่พักอาศัย 

บ้านหลังนี้ ได้ใช้เป็นที่ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองมากมาย ใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำละคร เป็นสถานที่จัดกิจกรรมวัฒนธรรมของจังหวัดและ เปิดเช่าชุดและสถานที่จัดงานแต่งงานแบบบาบ๋า – ย่าหยา ซึ่งเป็นพิธีการแต่งงานแบบชาวพื้นเมืองภูเก็ต มาถึงบ้านชินประชา ใครอยากลองใส่ชุด ก็เช้่าใส่ถ่ายรูปในบ้านได้นะ




เนื่องจากเราไม่ใช่คนภูเก็ตโดยกำเนิด การเขียนบล้อกเรื่องบ้านชินประชานี้ อาจไม่ได้อรรถรส เท่ากับคนภูเก็ตที่รู้ประวัติอันยาวนานของบ้าน เราเองเข้าไปค้นๆเจอประวัติน่าสนใจ จาก PhotoOnTour.Com ที่เป็นเรื่องเล่า ค่อนข้างอิงถึงบุคคลผู้เป็นเจ้าของบ้าน  คำสัมภาษณ์ของคุณประชา ลูกชายคนโตของผู้สร้างบ้านหลังนี้ 





0 comments: